เพิ่มเพื่อน
Line ID: @bkpn

การนับจังหวะ

การนับจังหวะนั้นทำได้ค่อนข้างง่าย แต่ก็ยังต้องอาศัยการฝึกหัดอยู่บ้าง แต่มันก็คุ้มค่า เพราะมันจะทำให้คุณสามารถเล่นเพลงที่คุณไม่เคยรู้จักทำนองมาก่อนได้ หรือแม้กระทั่งการแกะเพลงออกมาเป็นตัวโน้ตได้ด้วย

ในอัตราจังหวะธรรมดา (Simple Time) เราต้องนับ ทุกๆ จังหวะ

  • ถ้าตัวเลขตัวบนของเครื่องหมายกำหนดจังหวะ เป็นเลข 2, 3 หรือ 4 เราเรียกว่าเป็น "อัตราจังหวะธรรมดา"
  • ในเพลงที่มีอัตราจังหวะธรรมดา คุณต้องนับทุกๆ จังหวะ เช่น 4/4 คุณต้องนับ "หนึ่ง, สอง, สาม, สี่" วนไปเรื่อยๆ หรือในเพลงที่ใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ 3/2 คุณก็ต้องนับ "หนึ่ง, สอง, สาม" วนไปเรื่อยๆ เป็นต้น
  • ถ้าคุณต้องการนับจังหวะที่แยกย่อยลงไปอีกให้ใช้ "และ", "ละ" มาเติมเต็ม ก็จะทำให้การนับจังหวะสะดวกขึ้น
  • โน้ตตัวย่อยๆ ลงไป ก็สามารถแบ่งได้ในสัดส่วน 2, 4, 8 หรือ 16 ของจังหวะหลัก

meters

นับ "หนึ่ง และ สอง และ" สำหรับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น และนับ "หนึ่ง ละ และ ละ" กับโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น นับจังหวะ

ในอัตราจังหวะผสม 3 พยางค์ (Compound Time) เราจะนับเฉพาะ จังหวะหลัก เท่านั้น

  • ถ้าตัวเลขตัวบนของเครื่องหมายกำหนดจังหวะ เป็นเลข 6, 9 หรือ 12 เราเรียกว่าเป็น "อัตราจังหวะผสม 3 พยางค์" (สังเกตว่า เลขตัวบนจะหารด้วย 3 ลงตัว แต่ต้องไม่ใช่เลข 3 เอง)
  • มันดูจะไม่สมเหตุสมผลถ้าเราจะต้องนับถึง 9 หรือ 12 จังหวะในทุกๆ ห้อง
  • จังหวะหลักเราแก้ปัญหาโดยการรวมเอาจังหวะย่อยๆ 3 จังหวะ ให้กลายเป็น 1 "จังหวะหลัก"ดังนี้
  • ดังนั้นในอัตราจังหวะ 6/8 เราก็นับเฉพาะจังหวะหลักเป็น "หนึ่ง, สอง" สลับไปเรื่อยๆ
  • 9/8ส่วนถ้าเป็น 9/8 เราก็ต้องนับเป็น "หนึ่ง, สอง, สาม" วนไปเรื่อยๆ
  • จังหวะย่อยๆ ทีไม่ตรงกับจังหวะหลัก ก็นับ "ละ, และ" คั่นไปได้เลย
  • โน้ตตัวย่อยๆ ลงไป ก็สามารถแบ่งได้ในสัดส่วน 3, 6 หรือ 12 ของจังหวะหลัก
  • เพลงที่ใช้ "อัตราจังหวะผสม 3 พยางค์" นี้ จะฟังดูแตกต่างจากอัตราจังหวะธรรมดา แนะนำว่าให้ลองฝึกฟัง และแยกแยะออกมาจากกันให้ได้

รูปแบบของจังหวะหลักเหล่านี้ เราเรียกว่า อัตราจังหวะ (Metre)

หากแยกแยะเครื่องหมายกำหนดจังหวะ ออกเป็นกลุ่มๆ ตามรูปแบบของจังหวะ จะแยกได้ดังนี้

อัตราจังหวะทั่วไป
หากนับได้ 2, 3 หรือ 4 จังหวะในแต่ละรอบ เราก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มนี้ โดย
 
  • หากนับได้ 2 จังหวะต่อห้อง ก็เรียกว่า อัตราจังหวะแบบ 2 จังหวะ (Duple Metre)
  • หากนับได้ 3 จังหวะต่อห้อง ก็เรียกว่า อัตราจังหวะแบบ 3 จังหวะ (Triple Metre)
  • หากนับได้ 4 จังหวะต่อห้อง ก็เรียกว่า อัตราจังหวะแบบ 4 จังหวะ (Quadruple Metre)
อัตราจังหวะพิเศษ
หากนับได้ 5 หรือ 7 จังหวะในแต่ละรอบ โดยอาจจะแบ่งเป็น 2, 3 หรือ 4 กลุ่มย่อย ในแต่ละรอบ




บทความที่น่าสนใจ จาก "บ้านครูเปียโน"

พื้นฐานการอ่านโน้ตสากล