เพิ่มเพื่อน
Line ID: @bkpn

Time Signature - เครื่องหมายกำหนดจังหวะ

คือตัวเลขสองตัวที่ดูเหมือนจะขี่คอกันอยู่ในตอนต้นของโน้ตเพลง มีหน้าที่บอกเราว่า ในแต่ละห้องเพลงนั้นจะมีกี่จังหวะ รวมทั้งบอกเราด้วยว่า เพลงนี้ใช้โน้ตอะไรเป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ ถ้าเราละเลย ไม่สนใจเครื่องหมายนี้ เราก็คงเล่นเพลงนั้นๆ ไม่เข้ากับที่คนอื่นๆ เล่นแน่นอน

ดนตรีมีจังหวะคงที่

  • คุณคงเคยตบมือให้เข้าจังหวะเพลงกันมาบ้างแล้ว ที่คุณตบนั่นแหละเค้าเรียกว่าจังหวะ (Beat) ไม่ยากเลยใช่ไหม?
  • ถ้าคุณพยายามตั้งใจฟังให้ลึกซึ้งขึ้นอีกนิด คุณจะพบว่า บางจังหวะจะเน้นหนักกว่าบางจังหวะ
  • และจังหวะหนักเหล่านั้น ก็จะมาในสัดส่วนที่คงที่ เมื่อเทียบกับจังหวะที่เบากว่า - โดยทั่วไปจะเป็นทุกๆ จังหวะที่ 2, 3 หรือ 4
  • จังหวะหนักที่ว่านี่ก็คือจังหวะแรกของแต่ละห้องนั่นเอง (ของเพลงไทยเดิม จะเป็นจังหวะสุดท้ายของแต่ละห้อง) ถ้าจังหวะหนักมาทุกๆ 3 จังหวะ เพลงที่คุณฟังอยู่นั้นก็จะมี 3 จังหวะในแต่ละห้อง

Time Signature บอกให้เรารู้ว่าในแต่ละห้องจะมีกี่จังหวะ

  • เพลงทุกเพลงจะต้องมี Time Signature กำกับอยู่ตอนต้นเพลงเสมอ
  • โดยจะพบได้ติดกับ Clef และ Keysignature
  • มีลักษณะเป็นตัวเลขสองตัวขี่คอกันอยู่

  • เพลงทุกเพลงจะต้องมี Time Signature กำกับอยู่ตอนต้นเพลงเสมอ
  • โดยจะพบได้ติดกับ Clef และ Keysignature
  • มีลักษณะเป็นตัวเลขสองตัวขี่คอกันอยู่
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ เลขตัวบน อยู่ใน 2 ช่องบนของบรรทัด 5 เส้น

เลขตัวล่าง ก็อยู่ใน 2 ช่องล่าง

เลขตัวบน บอกเราว่า มีกี่จังหวะในแต่ละห้อง เช่น ถ้าเป็นเลข "2" ก็หมายความว่า เพลงนั้นจะมี 2 จังหวะในแต่ละห้อง ถ้าเป็นเลข "3" ก็มี 3 จังหวะในแต่ละห้อง เป็นต้น

ส่วนเลขตัวล่าง จะบอกว่า ให้ใช้โน้ตชนิดใดเป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ

3-2 3-4 3-8 3-16
เลข 2 หมายถึง
โน้ตตัวขาว
เป็น 1 จังหวะ
เลข 4 หมายถึง
โน้ตตัวดำ
เป็น 1 จังหวะ
เลข 8 หมายถึง
โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น
เป็น 1 จังหวะ
เลข 16 หมายถึง
โน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น
เป็น 1 จังหวะ
minim crotchet quaver semiquaver

ถ้าสัดส่วนจังหวะของเพลงเปลี่ยนไป Time Signature ก็จะเปลี่ยนไปด้วย

Time Signature มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งเพลง เราจึงมักพบ Time Signature เพียงครั้งเดียวตอนต้นเพลงเท่านั้น 2-4
2-4 เป็น 3-4 แต่บางเพลง มีการเปลี่ยนจังหวะระหว่างเพลง นั่นหมายความว่าเราจำเป็นต้องใส่ Time Signature อันใหม่ ลงไปตรงที่จังหวะมีการเปลี่ยนแปลงด้วย




บทความที่น่าสนใจ จาก "บ้านครูเปียโน"

พื้นฐานการอ่านโน้ตสากล